วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2016 เวลา 00:00 น.
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2017 เวลา 10:47 น.
เขียนโดย สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ป้องกันการชะล้างพังทลายด้วยการใช้หญ้าแฝก
สาเหตุและปัญหาของการชะล้างพังทลายการชะล้างพังทลายโดยน้ำเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้ดินจืดโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความลาดชันในภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาจเกิดการชะล้างพังทลายโดยลมในบริเวณที่ราบได้การชะล้างพังทลายมี สาเหตุจากภัยพิบัติจากธรรมชาติการเกษตรที่ไม่ถูกวิธีการทำเหมืองเปิดการ ก่อสร้างอาคาร ภูมิทัศน์และทางหลวง การชะล้างพังทลายทำให้ดินดีที่อยู่ด้าน บนถูกชะล้างหมดไป พืชไม่สามารถขึ้นปกคลุมได้หนาแน่นพอพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยทรงศึกษา ถึงศักยภาพของ"หญ้าแฝก"ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกัน การชะล้างและพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้อีกทั้งยัง เป็นพืชพื้นบ้านของไทยวิธีการปลูกก็ใช้เเทคโนโลยีแบบง่ายๆเกษตรกร สามารถดำเนินการได้เอง โดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนักอีกทั้งยัง ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วย
การป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยใช้หญ้าแฝกซึ่งแสดงออกถึงพระอัจฉริยภาพในการเลือกใช้ วัสดุพืชพรรณ (plant material)ที่มีความเหมาะสม
ลักษณะของหญ้าแฝก
มีระบบรากลึกแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆคล้ายกำแพง ทำหน้าที่กรองตะกอนและรักษาหน้าดิน หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า "vetiver grass"มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์
o หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.Camus)
o หญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash)
เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่นมีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้างประมาณ 5-9 มม.สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อจากส่วนลำต้นใต้ดิน หรือแบบอาศัยเพศโดยการให้ดอกและเมล็ดได้เช่นกัน ช่อดอกที่พบใน
ประเทศไทย สูงประมาณ 20-30ซม.แต่การขยายพันธุ์เป็นไปค่อนข้างยาก หญ้าแฝกจึงไม่ใช่วัชพืชเช่นหญ้าคา ปกติหญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็วโดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า หญ้าแฝกในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อแขนงดังกล่าวมีการเจริญเติบโตจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น ทำให้หญ้าแฝกโน้มลงดินและสามารถเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
ปลูกเป็นแนวตามระดับขวาง ความลาดชัน
การปลูกแบบนี้จะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อหญ้าแฝกมีความเจริญแตกกอขึ้นเต็มตลอดแนวจนไม่มีช่องว่าง เพราะเมื่อน้ำไหลบ่า หรือมีการพัดพาดินไปกระทบแถวหญ้าแฝก แฝกจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำลงและดักเก็บตะกอนไว้ ส่วนน้ำจะไหลซึมลงสู่ดินชั้นล่างมากขึ้นเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดิน ส่วนรากหญ้าแฝกนั้นอาจหยั่งลึกลงดินได้ถึง 3 เมตรซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการชะล้างแบบเป็นหน้ากระดาน หรือเป็นร่องลึกและแบบอุโมงค์เล็กใต้ดินได้เป็นอย่างดี เมื่อแถวหญ้าแฝกทำหน้าที่ดักตะกอนดินเป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเกิดการสะสมทับถมของตะกอนดินบริเวณหน้าแถวหญ้าแฝกเพิ่มขึ้นทุกๆปีกลายเป็นคันดินธรรมชาติไปในที่สุด
ปลูกแก้ปัญหาพังทลายของดินที่เป็นร่องน้ำลึก
เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาบริเวณร่องลึกโดยการปลูกแฝกในแนวขวาง 1 แถวเหนือบริเวณร่องลึกและใช้ถุงทรายหรือดินเรียงเป็นแนวเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าในระยะที่แฝกเริ่มตั้งตัว
ปลูกในที่ลาดชัน
มาตรการที่เหมาะสมโดยเฉพาะทางแถบภาคเหนือและภาคใต้คือ การปลูกแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอกโดยควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเท ในต้นฤดูฝน โดยการไถพรวนดินนำร่องแล้วปลูกหญ้าแฝกลงในร่องไถ ระยะปลูกระหว่างต้นต่อหลุม 3-5 เหง้าต่อหลุม ระยะห่างระหว่างแถวแฝกจะไม่เกิน 2 เมตรตามแนวตั้ง หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน ในพื้นที่แห้งแล้งควรตัดแฝกให้สูงประมาณ 30-50ซม.เพื่อเร่งให้มีการแตกกอควรตัด 1-2 เดือนต่อครั้งทั้งนี้การตัดหญ้าแฝกต้องกระทำในทุกพื้นที่และใช้ใบคลุมดินด้วย
ปลูกอนุรักษ์ความชื้นในดิน
เป็นการปลูกไม้ผลร่วมกับแถวหญ้าแฝกในระยะแรกเริ่ม หรือ ปลูกแฝกสลับกับต้นไม้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ มีวิธีการปลูก 3 วิธีคือ
o ปลูกหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลประมาณ 1 เมตรและนำใบของหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
o ปลูกแบบครึ่งวงกลมรอบไม้ผล ซึ่งทรงเรียกว่า"ฮวงซุ้ย"โดยปลูกเป็นครึ่งวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้นรัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.50-2.00 เมตร
o ปลูกแบบครึ่งวงกลมหันหน้าเข้าหาแนวความลาดชัน แนวหญ้าแฝกจะดักตะกอนดินที่จะไหลบ่าลงมาเก็บกักไว้ที่โคนต้นไม้
ปลูกป้องกันการเสียหาย ขั้นบันไดดิน คันคูน้ำรอบเขา
ในพื้นที่ลาดชันนิยมปลูกบนขั้นบันไดดินหรือมีการก่อสร้างคันคูดินรอบเขา ซึ่งเป็นการลงทุนสูงการป้องกันการเสียหายก็โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวบริเวณขอบขั้นบันไดดินหรือคันคูดิน
ปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำ
โดยปลูกแฝกลงในร่องน้ำด้วยการขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรงหรือแนวหัวลูกศรย้อนทางกับทิศทางไหล ในลักษณะตัว V คว่ำซึ่งทรงเรียกว่า"บั้งจ่า"เพื่อควบคุมการเกิดร่องน้ำแบบลึกหรือการปลูกในร่องน้ำล้น ดยปลูกตามแนวระดับเพื่อกักน้ำและช่วยกระจายน้ำไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก ผลของการปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยดักตะกอนและสามารถชะลอความเร็วของน้ำให้ลดลงด้วย
ปลูกป้องกันตะกอน ทับถมคลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นา ปลูกรอบสระ กรองตะกอนดิน
โดยปลูกแฝกเป็นแถวบริเวณ สองข้างทางคลองส่งน้ำช่วยกันตะกอนดินที่ไหลลงมา ซึ่งการปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดินนั้น ใช้วิธีการปลูกตามแนวระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และควรปลูกเพิ่มขึ้นอีก1-2 แนวเหนือแนวแรกขึ้นกับความลึกของขอบสระ เมื่อน้ำไหลบ่าลงมาตะกอนดินจะติดค้างบนแถวหญ้าแฝกส่วนน้ำก็ค่อยๆไหลซึมลงสระ รากแฝกก็ช่วยยึดดินรอบๆสระมิให้พังทลายได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขุดลอกสระ
ปลูกฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม
ปลูกแฝกเป็นแถวขวางความลาดเทในดินลูกรังที่เสื่อมโทรมจากการถูกชะล้างของผิวหน้าดินจนกระทั่งเกิดความแห้งแล้งและมีผิวหน้าดินแข็ง ขาดพืชพรรณธรรมชาติปกคลุม การปลูกแฝกแบบนี้จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า ทำให้น้ำซึมลงดินได้ลึกเกิดความชุ่มชื้นต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ โดยดำเนินการในโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรีและ ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ
ปลูกในพื้นที่ดินดาน
ดำเนินการศึกษาที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ทรายแข็ง ดินเหนียว หินปูนและแร่ธาตุต่างๆรวมตัวกันเป็นแผ่นแข็งคล้ายหิน ยากที่พืชชั้นสูงจะเจริญเติบโตได้ เมื่อทำการปลูกแฝกในดินดานพบว่ารากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในเนื้อดินดานทำให้แตกร่วนขึ้น หน้าดินก็จะมีความชื้นเพิ่มขึ้น ในแนวของหญ้าแฝกสามารถปลูกพันธุ์ไม้ได้หลายชนิด เช่น กระถินเทพา สะเดา ประดู่ฯลฯ เมื่อปลูกร่วมกับไม้ผล รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลงในดินดานเป็นการสลายดินล่วงหน้าก่อนรากไม้ผลจะหยั่งลึกลงไปถึง
ปลูกป้องกันการพังทลายดินไหล่ถนน
ปลูกแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางไหลน้ำบริเวณไหล่ทางและปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน ในพื้นที่ดินตัดและดินถมข้างทาง กันการพังทลายของดินในส่วนของไหล่ทางเปิดและไหล่ทางด้านข้าง
ปลูกป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำ
จากการทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯพิสูจน์ได้ว่ากอหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแนวขวางความลาดเทของพื้นที่ สามารถจะยับยั้งและลดการสูญเสียหน้าดินบนพื้นที่ลาดชันในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน รากหญ้าแฝกที่มีการแพร่กระจายอย่างหนาแน่นและหยั่งลึก จะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่น้ำเบื้องล่าง นอกจากนี้รากหญ้าแฝกน่าจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆทั้งนี้เนื่องจากรากของหญ้าแฝกสามารถที่หยั่งลึกและแผ่กว้างได้มากกว่ารากหญ้าชนิดอื่นๆประโยชน์เอนกประสงค์อื่นๆ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา ทำอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก มุงหลังคา ทำสมุนไพรและน้ำหอม
ข้อมูล http://www.land.arch.chula.ac.th/royal-projects/vetiver
ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330